วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2554

โรคสะเก็ดเงิน

โรคสะเก็ดเงิน เป็นอีกโรคหนึ่งที่ต้องเผชิญ
ไม่ทราบเหมือนกันว่าชาติก่อนนั้นไปทำบาปทำกรรมอะไรที่ต้องมาชดใช้ในชาตินี้ ทำให้เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ทั้งโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน และโรคสะเก็ดเงิน ล้วนแล้วแต่เป็นโรคทางพันธุกรรมทั้งนั้น และต้องมาเกิดกับเราคนเดียว แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่ท้อกับโชคชะตาค่ะ จึงอยากบอกเล่าให้กับผู้อ่านได้ทราบ หรือท่านที่่เป็นโรคนี้อยู่เพื่อเป็นทางเลือกในการรักษาได้ค่ะ
สะเก็ดเงิน ไม่ใช่โรคติดต่อ  สำหรับสาเหตุของโรคยังวินิจฉัยได้ไม่ชัดเจน บ้างว่าเกิดจากพันธุกรรม แต่โดยส่วนใหญ่บอกว่าเกิดจากเซลล์ผิวหนังมีการแบ่งตัวผิดปกติ แพทย์แผนปัจจุบันจัดให้เป็น โรคที่ไม่มีทางรักษาให้หายขาด และ ไม่ได้เกิดจากการรับประทานอาหาร อาหารไม่มีส่วนทำให้เกิดโรคแต่อย่างใด
 
สะเก็ดเงิน เป็นหนึ่งในโรคภูมิแพ้หรือภูมิเพี้ยนเป็นปฏิกิริยาของภูมิคุ้มกันของเราที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแปลกปลอมภายนอก สารแปลกปลอมเรียกว่าสารก่อภูมิแพ้ (ALLERGEN)
 
แพทย์แผนปัจจุบัน รักษาสะเก็ดเงินส่วนใหญ่ให้ยาแก้อักเสบที่มีส่วนผสมของสเตอร์รอยหรือไม่มี ทั้งแบบทานและทา(มีการฉายรังสี UV และเคมีบำบัดร่วมด้วย) เช่น เมโทรเท็กเซท, อันทราลิน, เดอโมเวท, LCD, TAR LOTION, เรตินอยด์ ทั้งหมดเป็นเพียงการรักษาอาการเฉพาะหน้าและระงับได้ชั่วคราวเท่านั้น

ซึ่งทั้งหมดนี้ได้เคยรับการรักษามาแล้วทั้งนั้น ทั้งทานยา ฉีดยา ทายา ฉายแสง UVA และ UVB รวมถึงรักษาแบบแพทย์แผนจีน จนกระทั่งล่าสุดได้ทดลองรักษาแพทย์แผนไทยโดยการทานยาหม้อคล้ายกับแพทย์แผนจีน ได้พยายามทำทุกวิธีที่คิดว่าดี แต่แล้วก็ไม่หายขาด หายไปได้ไม่นานก็กลับมาอีกซึ่งอาการของโรคเวลาที่เป็นขึ้นมาจะคันเป็นอย่างมากสุดจะทรมานค่ะ จะเป็นตุ่มแดงคล้ายยุงกันแล้วก็จะขยายเป็นเม็ดใหญ่ขึ้นเป็นวงกว้าง สะเก็ดลอกเป็นแผ่น กลายเป็นผื่นแดงขนาดใหญ่ เป็นทั่วตัวรวมถึงบนศรีษะจะคันมาก จะต้องใช้ยาสระผมของโรงพยาบาลเท่านั้นถึงจะหายคันซึ่งมีกลิ่นเหม็นมาก เหม็นเหมือนน้ำก๊าซ ทั้งยาทาผื่นตามตัวและยาสระผมกลิ่นจะคล้ายกันค่ะคือเหม็น 

เมื่อไม่นานมานี้ได้อ่านเจอคอลัมภ์ใน Natural mind ซึ่งมีผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ได้เผยแพร่วิธีการรักษาด้วยวิถีทางโภชนาการ (สูตรการรักษา)
 
- การทำ OIL PULLING ช่วยลดปริมาณแบคทีเรียในช่องปาก อันเป็นของโรคร้ายต่างๆ
- น้ำมันมะพร้าว + กระเทียม ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานอย่างสูง (กรดอัลฟ่าไลโปอิค) - ข้าวกล้อง มีอิโนชิสตอล เป็นเลซิตินช่วยผิวหนังให้ยืดหยุ่น ไม่อักเสบ
- น้ำมันปลา มี OMAGA 3 ปรับสมดุล OMAGA 6 ลดการอักเสบ
- ขมิ้นชัน ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
- มะละกอ มีเอนไซม์ ย่อยโปรตีน
- ผักตำลึง + ใบบัวบก มีเอนไซม์ ย่อยแป้ง
- ผักสด + ผลไม้ ทานสด ๆ มีเอนไซม์เพิ่มพลังชีวิต
- พยายามหลีกเลี่ยง น้ำตาลทรายขาว , แป้งขาว , กาแฟ , แอลกอฮอล์
- ดื่มน้ำลดความร้อนในร่างกาย เช่น น้ำเก็กฮวย, หล่อฮั้งก้วย, จับเลี้ยง, น้ำใบบัวบก ไม่ใส่น้ำตาล หรือหวานน้อย
- หลีกเลี่ยงน้ำมันที่ผ่านกรรมวิธี (RBD) ทุกชนิด เช่นน้ำมันถั่วเหลือง , ทานตะวัน , รำข้าว , ข้าวโพด ฯลฯ
 การรักษาโรค “สะเก็ดเงิน” ด้วยวิถีทางโภชนาการ (ฉบับสมบูรณ์)

ซึ่งเขาได้ทำการรักษาแล้วได้ผลค่อนข้างดีมาก และตัวเองกำลังจะทดลองใข้วิธีนี้ดู ถ้าได้ผลอย่างไรแล้วจะกลับมาเล่าให้ฟังค่ะ

เพิ่มเติมอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
- อาหารรสหวาน,ผลไม้รสหวานมาก,เลี่ยงน้ำตาลฟอกขาว
- แป้งขาว เช่น ขนมปัง,เส้นก๋วยเตี๋ยว,บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป,ซาลาเปา,ปาท่องโก๋
- อาหารรสจัด,เค็มจัด,เผ็ดจัด,เปรี้ยวจัดและมีรสมันจัด
- อาหารที่มีกลูเตนสูง,ข้าวสาลี,ข้าวโอ๊ด,ข้าวบาร์เลย์,ข้าวไรน์
- แอลกอฮอล์,คาเฟอีน (ชา,กาแฟ) ของหมักดอง
- อาหารทะเล กุ้ง ปู และหอย (ควรงดเด็ดขาด)
- เนื้อสัตว์ที่ย่อยยาก เช่น เนื้อวัว ให้เน้นทานเนื้อปลา
- ลดในสิ่งที่ตัวเองแพ้ เช่น น้ำผึ้ง,ข้าวโพด
- อาหารที่ใช้น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี น้ำมันถั่วเหลือง ทานตะวัน ข้าวโพด ดอกคำฝอย รำข้าว (น้ำมันพวกนี้มี OMEGA 6 สูงทำให้เกิดการอักเสบ) และไขมันทรานส์ (ตัวร้ายที่สุด)
- ผู้ป่วยราว 20 % จะแพ้อาหาร (NIGHT SHADE) เช่น มะเขือเทศ,มะเขือ,มันฝรั่ง,พริกไทย,พริกใบยาสูบ(บุหรี่),ถั่ว,ข้าวโพด,งา
- อาหารที่มีนมวัวผสม นมวัวมีโปรตีนเคซีน ร่างกายย่อยยาก
- หลีกเลี่ยงสารเคมีโดยการสัมผัส,สูดดม และงดทานอาหารที่มีส่วนผสมของผงชูรส,วัตถุกันเสีย
อาหารที่ควรรับประทาน
- น้ำมันมะพร้าว+กระเทียมเป็น SUPER ANTIOXIDANT ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานอย่างสูงเรียกว่ากรดอัลฟ่าไลไปอิด ดูรายละเอียด
- การดื่มน้ำให้ถูกต้องและพอสำหรับร่างกาย คลิกเพื่อดูรายละเอียด
- น้ำเอนไซม์มี 2 ชนิด 1.ได้จากผักสด+ผลไม้ 2.น้ำหมักชีวภาพ ช่วยกำจัดสารพิษ และช่วยย่อยอาหาร (ผู้ป่วยภูมิแพ้หรือสะเก็ดเงินจะมีอาการกรดในกระเพาะอาหารไม่เพียงพอ)
- ข้าวกล้อง มีอิโนซิตอส ลดการอักเสบ (เลี่ยงข้าวขาว)
- ผักตำลึง,ใบบัวบก,ย่านาง คั้นเป็นเครื่องดี่มมีฤทธิ์เย็นและมีเอนไซม์ย่อยแป้ง
- มะละกอดิบ มีเอนไซม์ย่อยโปรตีน
- ผักสด+ผลไม้ ทานสดมีเอนไซม์เพิ่มพลังชีวิต
- เน้นอาหารจากธรรมชาติ RAW FOOD ไม่ผ่านการปรุงแต่งหรือปรุงแต่งให้น้อยที่สุด
- วิตามินและเกลือแร่ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ
- อาหารที่ย่อยง่ายและเคี้ยวอาหารให้นานขึ้น
- สาหร่ายทะเลช่วยส่งเสริมการทำงานไทรอยด์ (เพิ่มภูมิต้านทาน)
วิธีการดูแลรักษา   
วิธีการรักษาที่เขียนในบทความนี้เป็นวิธีที่ได้จากการรักษาจริง แล้วได้บอกต่อกับผู้ป่วยสะเก็ดเงินด้วยกัน ผลที่รักษาเป็นที่น่าพอใจ อาจเป็นช่องทางหนึ่งในหลายๆวิธีที่ผ่านการรักษาแผนปัจจุบันมาแล้ว 
 
การรักษาแผลสะเก็ดเงินภายนอก(ผิว)ใช้อยู่ 2 วิธี

1) ใช้ยาทาผิวที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ 0.1% ใช้ไม่เกิน 10 วัน (ถ้ามากกว่านี้จะมีผลข้างเคียง ผิวหนังบาง ติดเชื้อง่าย ไหม้ มีสิว ระคายเคือง ผิวหนังแห้งแตก ต่อมใต้ผิวหนังอักเสบ สีดล้ำ และร่างกายจะขาดโปแตสเซียม) ทางเฉพาะบริเวณที่เป็นสะเก็ดเงินเท่านั้น ทาวันละ 2-3 ครั้ง หลังจากสะเก็ดเงินบางลงหยุดใช้
 
ถ้าไม่ใช้สเตียรอยด์ทา ยังมียากลุ่มอื่นที่ไม่ใช้สเตียรอยด์ แต่มีราคาแพง เช่น โปรโทปิค (PROTOPIC) ยาอิริเดล (ELIDEL) แทนได้ประสิทธิภาพเทียบเท่าสเตียรอยด์ ชนิดอ่อนและปานกลางเท่านั้น นับว่าเป็นทางเลือกได้อีกทางที่ช่วยระงับอาการคันได้

2) ใช้น้ำมันมะพร้าวทาผิวต่อเนื่อง ทาได้บ่อยๆ ผิวหนังจะชุ่มชื้นเข้าอาการสะเก็ดเงินจะควบคุมได้ดี และใช้น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ทาได้ตลอด

การรักษาแผลสะเก็ดเงินด้วยโภชนาการและการปฏิบัติตอนเช้าและก่อนนอน 
 
1) ตื่นเช้าทำ OIL PULLING 15-20 นาที
2) ตามด้วยการดื่มน้ำ 1-2 แก้ว
3) รับประทานสิ่งต่างๆเหล่านี้วันละ 2-3 เวลาก่อนอาหาร
    - น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ (ไม่แต่งกลิ่นสังเคราะห์ เพราะมีสารเคมี)  
    - กระเทียมสด หรือกระเทียมอัดเม็ด (อิมมิวนีท็อป 2000)          
    - เลซิติน (ไวทัล-เอ็ม)                                                                              
    - น้ำมันตับปลา                                                                         
    - บริวเวอร์ยีสต์                                                                        
    - ขมิ้นชัน                                                                               
    - N-ACETYLCYSTEIN (NAC LONG),(MUCIL)
    - Evening Primrose Oil (EPO)
4) อาหารแต่ละมื้อให้ดูอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง และทานอาหารที่ควรรับประทาน อย่าลืมการดื่มน้ำที่ถูกต้อง
5) ออกกำลังกายอย่างน้อย 15 นาที อาทิตย์ละ 3 ครั้ง
6) พักผ่อนให้สบาย ฝึกมองโลกในแง่บวก จิตแจ่มใส ผ่อนคลาย
7) เพิ่มอาหารที่มีฤทธิ์เย็น เช่น ผักผลไม้, แตงกวา, ฟัก, ถั่วต้ม+เห็ดหูหนูขาว หรือเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เย็น เช่น น้ำใบบัวบก, ย่านาง, เก็กฮวย, จับเลี้ยง, น้ำถั่วเขียว เพื่อดับร้อนในร่างกาย ดื่มแทนน้ำทุกวันจะดีมาก ไม่ใส่น้ำตาล หรือน้ำตาลน้อย 
 
เอกสารอ้างอิง
- อาหารและสุขภาพ : พ.อ.หญิงศรีนวล  เจียจันทร์พงษ์ และคณะ
- ภูมิแพ้แก้ง่าย : นพ.สวี  ซื่อต๋า , น.พ.หยาง  เสี่ยนหง
- ภูมิเพี้ยน : พญ.ลลิตา  ธีระสิริ
- รู้สู้โรค : หมอเฉลียว  ปิยะชน
- มหัศจรรย์น้ำมันมะพร้าว : ดร.ณรงค์  โฉมเฉลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น